Thursday, June 4, 2015

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ _Erectile Dysfunction



(Erectile Dysfunction – ED, Impotence)


โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคอีดี หมายถึงภาวะที่อวัยวะเพศ ไม่สามารถคงการแข็งตัว หรือแข็งตัวได้เพียงระยะสั้นๆ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ อย่างพืงพอใจ

สาเหตุส่วนใหญ่โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศไม่เพียงพอ 

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ED นี้ ส่วนมากเป็นแค่อาการชั่วคราว สามารถรักษาได้หากพบปัญหาและรีบรักษา สามารถพบได้ทุกวัย ในชายบางคน อาจพบ อาการถาวร หรืออาการเกิดซ้ำ แต่พบได้มากขึ้น เมื่อมี อายุมากขึ้น, ผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ หรือ ทางร่างกาย 
 

สาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศส่วนใหญ่มักจะมีหลายสาเหตุร่วมกัน หลัก ได้แก่
1.     ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย

ระดับฮอร์โมน เทสโทสเตอโรน (testosterone) ที่ลดลง เมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น พบว่าผู้ชายอายุ 60-70 ปี จะมีโอกาสที่จะหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากถึงร้อยละ 73

2. ปัจจัยจากสภาพร่างกาย
โรคเรื้อรัง พบว่าเป็นสาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ถึงร้อยละ 70 
- โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ทำให้มีการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศลดลง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

- ความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งเซลล์ประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณไปควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศ เช่น โรคเกี่ยวกับสมอง เนื้องอกในสมอง ลมชัก อัมพาต พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรคไขสันหลัง โรคพิษสุราเรื้อรัง

- การผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน หรืออุบัติเหตุ ที่มีผลต่อ โครงสร้างอวัยวะเพศชาย หลอดเลือดแดง หรือ เส้นประสาทที่ไปควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศ 
- การใช้ยา ยาบางชนิดมีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาขับปัสสาวะ ยารักษาแผลในกระเพาะอาหารบางชนิด 
อย่างไรก็ตามผลกระทบจากยาเป็นเพียงอาการชั่วคราว และจะกลับมาเป็นปกติหลังจากหยุดยา
- อื่นๆ เช่น การได้รับรังสี  มีน้ำหนักตัวมากเกินปกติ การสูบบุหรี่ ยาเสพติด การขี่จักรยานทางไกล

3. ปัจจัยจากสภาพจิตใจ พบว่าปริมาณร้อยละ 10-30 ของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีสาเหตุมาจากความเครียด ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า ปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาครอบครัว


การรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในบางรายแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ลดอาหารรสเค็ม งดสุรา หยุดสูบบุหรี่ ลดน้ำหนัก และออกกำลังกาย ให้มีสุขภาพแข็งแรง ก็อาจแก้ปัญหาและช่วยให้กลับมามีเพศสัมพันธ์ที่ดีได้
แพทย์อาจพิจารณาหยุดยาที่มีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและใช้ยากลุ่มอื่นทดแทน
    1. การรักษาทางจิตใจ
ตรวจสอบดูว่าปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากภาวะทางจิตใจหรือไม่ โดยลองสังเกตว่าอวัยวะเพศมีการแข็งตัวในตอนเช้า หรือ ระหว่างนอนหลับ หรือไม่ หากมีการแข็งตัวแสดงว่าอวัยวะเพศไม่ได้มีปัญหา แต่มีปัญหาจากภาวะทางจิตใจ ควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรับการบำบัดทางจิต และความร่วมมือจากคู่ครอง คู่ครองสามารถช่วยได้ด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบค่อยเป็นค่อยไป หรือมีการเล้าโลมก่อน เทคนิคนี้สามารถลดความวิตกกังวลได้อย่างดี อย่างไรก็ตามวิธีนี้ต้องใช้เวลา 

2.    การใช้ฮอร์โมนทดแทน

เหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเลือดต่ำ เช่น วัยสูงอายุ
ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน หรือฮอร์โมนเพศชาย ชนิดกินหรือชนิดฉีด   สามารถรักษาผู้ป่วยภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่มีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำกว่าปกติ แพทย์จะให้ฮอร์โมนทดแทนกรณีมีข้อบ่งชี้อย่างชัดเจนและไม่มีข้อห้ามในการรักษา กล่าวคือ ไม่มีประวัติของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากหรือต่อมลูกหมากโต ซึ่งระหว่างใช้ยาแพทย์จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คอยตรวจค่าต่างๆ เป้นระยะ เช่น การตรวจทางทวารหนัก ความเข้มข้นของเลือด การควบคุมการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับและต่อมลูกหมาก รวมถึงการเจาะเลือดตรวจค่าพีเอสเอ (PSA) ที่เป็นค่าบ่งชี้ของมะเร็งต่อมลูกหมาก 

หากการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล จำเป็นต้องใช้ยา เครื่องมือกระบอกสูญญากาศ หรือ การผ่าตัดใส่แกนเข้าองคชาต  
3.    การรักษาด้วยยาที่ช่วยเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของเลือดเข้าในองคชาต
ยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีทั้งยากิน ยาฉีด หรือยาสอด
ยากิน เพิ่มปริมาณการไหลเวียนของเลือดเข้าในอวัยวะเพศ เช่น
ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ฟอสโฟไดเอสเทอเรส (PDE 5 inhibitors) เป็นยากินที่ได้รับการรับรองว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น ยา Sildenafil หรือชื่อทางการค้า ไวอากร้า (Viagra) เป็นยาที่รักษาอาการโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ยานี้จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเข้าในอวัยวะเพศมากขึ้น โดยต้องทานก่อนมีเพศสัมพันธ์ 1 ชั่วโมง (บางรายอาจรอนานถึง 2 ชั่วโมง) ยาจะออกฤทธิ์นาน 60 นาที ยานี้จะมีประสิทธิภาพ ต่อเมื่อ ต้องมีการกระตุ้นทางเพศร่วมด้วยเสมอ ไม่ควรใช้มากกว่าวันละหนึ่งครั้ง ขนาดยาที่แนะนำคือ 50 มิลลิกรัมและอาจปรับยาเพิ่มเป็น 100 มิลลิกรัมหรือลดเป็น 25 มิลลิกรัมขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน 
ในกรณีของการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศไม่ได้ผล อาจเกิดจากสาเหตุหลัก คือ มีระดับฮอร์โมน เทสโทสเตอโรนต่ำ การใช้ยาไม่ถูกต้อง ยาปลอม มีการกระตุ้นทางเพศไม่เพียงพอ ใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม ระยะเวลาระหว่างการกินยาและการมีเพศสัมพันธ์ไม่เหมาะสม
ข้อห้ามสำคัญ

ห้ามใช้ยากับผู้ที่เป็นโรคหัวใจที่ได้รับยาไนเตรต หรือยาที่มีส่วนประกอบไนเตรต เพราะจะทำให้ความดันโลหิตตกลงทันที อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
มีข้อควรระวังใน ผู้ที่มีโรคตับ ไตวาย หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
ยา PDE 5 inhibitors อื่นๆ เช่น tadalafil, vardenafil

ยากินชนิดอื่น เช่น yohimbine  hydrochloride  etc. มีประสิทธิภาพบ้าง
ยา Yohimbine ยานี้จะขยายหลอดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเข้าในอวัยวะเพศมากขึ้น ยานี้อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อให้เกิดผล มีข้อควรระวังใน ผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจ โรคไต, ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (เจ็บหน้าอก), แผลในกระเพาะ โรคตับ หรือ ผู้ที่อยู่ระหว่างทานยารักษาอาการซึมเศร้า ผู้สูงอายุ
4.    ยาฉีดเข้าที่อวัยวะเพศ (Penile injections) และยาสอดทางท่อปัสสาวะ (Intraurethral agents) 

ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการยากิน
การฉีดยาเข้าที่องคชาต ซึ่งยานี้จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือดเข้าในอวัยวะเพศมากขึ้น ทำให้แข็งตัวได้ ยาดังกล่าว ได้แก่ papaverine hydrochloride, phentolamine และ alprostadil
ผู้ป่วยควรเรียนรู้เรื่องวิธีการฉีดยาที่ถูกต้องและปลอดภัย ยาฉีดเข้าที่โคนอวัยวะเพศ ต้องปรับขนาดใช้ให้เหมาะสม คือ ใช้แล้วทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ประมาณ 30-60 นาที (ไม่ควรนานกว่านี้) ข้อดีของการฉีด คือ อวัยวะเพศแข็งตัวได้ภายใน 5-15 นาที ในแต่ละครั้งที่ฉีดต้องสลับข้างเพื่อป้องกันเนื้อตาย
ผลข้างเคียงยาฉีดเข้าที่อวัยวะเพศ ได้แก่ อาจมีอาการปวดแสบ ปวดร้อนบริเวณที่ฉีด องคชาตแข็งตัวอยู่ตลอด อาการโด่ไม่รู้ล้ม (priapism) และเป็นพังผืด  และในผู้ที่มีอวัยวะเพศคดงอ เพราะเมื่อแข็งตัวจะทำให้ปวดมาก
ยาสอดทางท่อปัสสาวะ
ผลข้างเคียง ยาสอดทางท่อปัสสาวะ ฝ่ายชายอาจมีอาการปวดแสบบริเวณท่อปัสสาวะ ส่วนฝ่ายหญิง อาจเกิดอาการคันหรือปวดแสบภายในช่องคลอด
5.    การใช้อุปกรณ์ ที่ช่วยเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของเลือดเข้าในองคชาต
การใช้กระบอกสุญญากาศ
กลไกของกระบอกสุญญากาศคือ ทำให้เกิดภาวะสุญญากาศซึ่งทำให้หลอดเลือดขยายตัว สามารถช่วยให้เลือดไหลมาคั่งที่อวัยวะเพศทำให้แข็งตัวได้ แล้ว ใช้ยางรัดที่โคนอวัยวะเพศ
อุปกรณ์ดังกล่าวมีอยู่สามส่วนคือ กระบอกพลาสติกสำหรับครอบองคชาต ตัวปั๊มซึ่งช่วยดึงอากาศออกจากกระบอกสุญญากาศ และยางรัดซึ่งวางรอบฐานขององคชาตเพื่อให้การแข็งตัวคงอยู่ได้หลังนำกระบอกสุญญากาศออกแล้วและระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ

ข้อห้ามสำคัญ 


ห้ามรัดนานเกินกว่า 30 นาที เพราะอาจมีการขาดการไหลเวียนของเลือด ห้ามใช้ในคนที่เลือดออกง่าย ผู้ที่ทานยาแอสไพริน หรือยาที่ต้านการแข็งตัวของเลือด
ห่วงรัดอวัยวะเพศชาย ทำจากน้ำยางธรรมชาติ ยืดหดได้ มีหลายขนาด ใช้สวมอวัยวะเพศที่เริ่มแข็งตัวดี ช่วยป้องกันไม่ให้มีการไหลย้อนกลับของเลือดจากองคชาต ทำให้องคชาตแข็งตัวได้นานขึ้น ไม่ควรสวมนานเกินกว่า 30 นาที เพราะอาจมีการขาดการไหลเวียนของเลือด
6.     การผ่าตัดฝังแกนหรืออวัยวะเทียม (Penile Implant, Prosthesis Surgery)

การผ่าตัดฝังแกน จะพิจารณาเป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อวิธีการอื่น ๆ
ในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ไม่ประสบความสำเร็จ ค่าใช้จ่ายสูง
การผ่าตัดรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศทำได้ 3 วิธี ได้แก่ 
การผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมเป็นแกนองคชาตเพื่อให้องคชาตสามารถแข็งตัวได้ (Penile Implant)
การสร้างหลอดเลือดแดงใหม่เพื่อให้มีเลือดไหลเข้าองคชาตได้ (Penile Artery Bypass Surgery) เหมาะสำหรับชายอายุไม่มากนัก
การผ่าตัดปิดการไหลของหลอดเลือดดำไหลออกจากองคชาต (Venous Ligation Surgery) เหมาะสำหรับชายอายุไม่มากนัก

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศกับวัยทอง

ชายวัยทอง มีภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน เป็นผลให้เกิดการสูญเสียความต้องการทางเพศ  และ ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แต่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยการใช้ฮอร์โมนทดแทน 
จากการทดลองพบว่า ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน มีผลต่อกลไกการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะความต้องการทางเพศ และ การแข็งตัวขององคชาต 
ทั้ง ยังมีการทดลองที่ พบว่า ในผู้มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศส่วนหนึ่งที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากิน กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ฟอสโฟไดเอสเทอเรส (phosphodiesterase - PDE) ซึ่งยากินกลุ่มนื้จะช่วยเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของเลือดเข้าในอวัยวะเพศ ทำให้องคชาตแข็งตัว เมื่อได้รับฮอร์โมนเพศชายทดแทนจะเพิ่มการตอบสนองต่อการกินยาดังกล่าวได้ดีขึ้น
ทั้งนี้ระดับฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำกว่าปกติยังมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด อีกด้วย


Alternative natural treatment
Butea superba สมุนไพรเสริมสร้างสมรรถภาพของอวัยวะเพศชาย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการหมุนเวียนของเลือด เพิ่มระดับฮอร์โมน กระตุ้นประสาทรับความรู้สึก 
From trials, Butea superba was found to have androgenic effects.
The Extraction of Butea superba root from laboratory, Butea superba contains two important compounds: flavonoid and flavonoid glycoside. And both compounds show strong inhibitory effects on cAMP phosphodiesterase.
Inhibition of cAMP phosphodiesterase will help increase blood flow into the penis, which resulting in strong erection. Which this mechanism is the same as sildenafil (Viagra). Therefore some people call Butea superba as Herbal Viagra.
Butea superba herb has androgenic effects like boosting testosterone in your body and also for being a potent cAMP phosphodiesterase inhibitor. Thus Butea superba can help treat erectile dysfunction effectively and safely, without complications like synthetic medicine.


บทความโดย  http://easydtox.blogspot.com/  

http://www.puremiracleherbs.com/

1 comment:

  1. This comment has been removed by a blog administrator.

    ReplyDelete