Friday, August 15, 2014

 วิธีล้าง (พิษ) ตับระยะสั้น


รศ.นพ.สำเริง รัตนระพี อาจารย์แพทย์ศิริราช ได้แนะนำ “วิธีล้าง (พิษ) ตับระยะสั้น” แบบง่ายๆ และได้ผลจริง ไว้ดังนี้

วิธีการ

วันที่ 1 : วันอังคาร  กินอาหารตามปกติจน 15:00 น. จากนั้นดื่มได้แต่น้ำ (ถ้าเป็นน้ำด่างที่เรียก alkaline water) จะดีมาก จะสวนล้างลำไส้หรือไม่ก็ได้ ยากิน  เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น

วันที่ 2 และ 3 : วันพุธและวันพฤหัสบดี งดอาหารทุกชนิด ดื่มได้เฉพาะน้ำผลไม้ที่ไม่มีกากมาก ดีที่สุดคือน้ำแอปเปิ้ลเขียวที่ปั่นแยกกากออกแล้ว วันละ 3 – 5 แก้ว น้ำผลไม้ แนะนำให้เป็นน้ำผลไม้สด ไม่แนะนำน้ำผลไม้บรรจุกล่อง (UHT) ถ้าหาไม่ได้จริงๆ น้ำมะขามเข้มข้น (ซื้อได้จากร้านดอยคำ) นำมาผสมน้ำดื่มก็ได้ ดื่มวันละ 3 – 5 แก้ว เช่นเดียวกัน หลัง 15:00 น. หยุดดื่มน้ำผลไม้ ดื่มน้ำได้ทั้งวัน ถ้าใครสวนล้างลำไส้อยู่แล้วก็ทำตามปกติ ถ้าไม่สวน แนะนำให้กิน ดีเกลือ (MgSO4) 1 ช้อนชา ผสมน้ำมะนาว 1 ลูก ตอนประมาณ 18:00 น.

วันที่ 4 : วันศุกร์  6:00 – 8:00 น. กินดีเกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำมะนาว 1 ลูก ดื่มน้ำผลไม้ได้เช่นเดียวกับวันพุธ และพฤหัส หยุดดื่ม 15:00 น.
18:00 น. และ 20:00 น. กินดีเกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำมะนาว 1 ลูก อีก 2 มื้อ
22:00 น. ดื่มน้ำมันมะกอกประมาณ 150 – 200 cc ผสมน้ำมะนาว 150 – 200 cc และเกลือป่นครึ่งช้อนชา เขย่าให้เข้ากันให้มากที่สุด ดื่มให้หมดในเวลา 10 นาที (ส่วนใหญ่ 1 นาทีก็หมดแล้ว) แนะนำให้แช่เย็นเล็กน้อย ใส่แก้วใหญ่ๆ ดื่มติดต่อกันให้หมดในคราวเดียว การจิบทีละน้อยมักไม่สำเร็จ (ใช้มะขามเปียกคลุกเกลือป่นมาป้ายลิ้นก่อนและหลังดื่มน้ำมันมะกอกจะช่วยลดความคลื่นไส้ ได้ดี)
ขั้นตอนการดื่มน้ำมันมะกอกนี้สำคัญที่สุดในขบวนการนี้ ถ้าอาเจียน การที่เราพยายามเตรียมร่างกายมาหลายวันจะเปล่าประโยชน์ เราต้องกลั้นอาเจียนจนถึง 2:00 น. (4 ชม. หลังดื่มน้ำมันมะกอก) ถ้าจะนอนให้สบาย ให้นอนยกศีรษะสูง และตะแคงขวา อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบหน้าท้องข้างขวาส่วนบน หรือใต้ชายโครงซึ่งเป็นตำแหน่งของตับด้วยก็ได้

วันที่ 5 : วันเสาร์ 6:00 – 8:00 น. กินดีเกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำมะนาว 1 ลูก เมื่อถ่ายอุจจาระให้สังเกตอุจจาระที่ถ่ายออกมา (ซึ่งเราเชื่อว่าจากการอดอาหารมาหลายวัน บวกกับการกินดีเกลือ (หรือสวนล้างลำไส้) ด้วย ไม่น่าจะมีอุจจาระตกค้างในสำไส้ของเราอีกแล้ว) ทุกสิ่งที่เราขับถ่ายออกมากน่าจะมาจากระบบท่อน้ำดี ในตับ, นอกตับ และถุงน้ำดี สิ่งที่พวกเราเคยได้เห็นกันมีทั้งไขมัน, ตะกอนน้ำดี (bile salt) ไปจนถึงนิ่ว (stone) จากถุงน้ำดี ส่วนใหญ่จะมีกลิ่นเหม็น กว่าอุจจาระปกติ ตลอดวันเสาร์ และอาทิตย์ อาจมีการถ่ายอุจจาระอีกหลายครั้งขึ้นอยู่กับการทำงานของลำไส้ในแต่ละคน ตั้งแต่ 12:00 น. ของวันเสาร์เริ่มกินอาหารได้ แนะนำอาหารอ่อนย่อยง่าย และร้อนๆ

ประโยชน์

- ช่วยลดน้ำหนัก เพราะหนึ่งในขั้นตอนการล้างพิษตับนั้นคือต้องอดอาหาร
- ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงขึ้น เพราะตับสะอาดขึ้น
- ช่วยในการซ่อมแซมเซลล์ และคืนความสดชื่นให้กับเซลล์ทั่วร่างกาย
- ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในร่างกาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง
- ช่วยบรรเทาความรุนแรงของหวัด หรืออาการภูมิแพ้
- เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยลดการสะสมของไขมันที่พอกตับ และลดการเกาะตัวของไขมันที่บริเวณผนังหลอดเลือด
- ช่วยป้องกันและต่อสู้กับโรคมะเร็ง
- ช่วยให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้น ปกป้องตับจากการทำเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง
** เพื่อสุขภาพที่ดีควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายควบคู่กันด้วย **

ไทรอยด์เป็นพิษ


ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาได้ด้วยธรรมชาติบำบัด

ในทางแพทย์แผนโบราณตำราจีนและไทย กล่าวว่าไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากการกินที่ไม่สมดุล กินอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมากกว่าฤทธิ์เย็น หรือหยินหยางไม่สมดุล จึงทำให้ภายในร่างกายร้อนเกิน จนกระทั่งการทำงานของต่อมไทรอยด์...ผิดปรกติ

วิธีธรรมชาติบำบัดที่จะช่วยรักษาไทรอยด์ที่ผสมทั้งแผนจีนแผนไทยคือ “การแกว่งแขน” หรือการออกกำลังกายโดยการแกว่งแขนเป็นประจำวันละ 20 นาทีเป็นอย่างต่ำ

*ชีวอโรคยา จะนำรายละเอียดเรื่องการแกว่งแขนรักษาโรคมาเสนอในโอกาสต่อไป

และกินสมุนไพรที่จะช่วยรักษาได้คือ “น้ำใบย่านาง” ให้คั้นใบย่านางต้มกินแทนน้ำเปล่า ปัจจุบันมีหัวน้ำใบย่านางสกัดขายตามร้านขายของเพื่อสุขภาพทั่วไป นำไปผสมน้ำดื่มได้เลย รสชาติไม่แตกต่างจากน้ำเปล่าและยังมีกลิ่นหอมชื่นใจอีกด้วย

นอกจากนั้นให้ปรับนิสัยการกิน หันมากินอาหารฤทธิ์เย็นแทน เช่นงดเนื้อสัตว์ แต่ยังกินปลาได้เช่นปลานึ่งทาเกลือเพื่อเสริมไอโอดีน กินผักผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม สัปปะรด แอปเปิลฯลฯ กินข้าวกับผักลวกปลานึ่ง โดยให้เน้นผักฤทธิ์เย็น (เสิร์จกูเกิลหาชื่อของผัก-ผลไม้ฤทธิ์เย็นได้เลย)

ผู้มีประสบการณ์ป่วยเป็นไทรอยด์ เล่าว่า ทำตามคำแนะนำนี้ ค่าไทรอยด์ลดลง 50% ภายใน 2 สัปดาห์ และหายเป็นปรกติภายใน 3-4 เดือน แต่ต้องกินน้ำย่านางไปตลอดเพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย

*****************************************

บทความเรื่อง “ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ภัยเงียบถึงขั้นหัวใจล้มเหลว

อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หิวบ่อย ทานจุ น้ำหนักลดฮวบแม้ทานอาหารมากขึ้น ขี้ร้อน หงุดหงิดง่าย ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง คอมีขนาดโตขึ้น ตาโปน หากใครกำลังมีอาการดังกล่าวมาพึงระวัง เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกให้รู้ว่า ตอนนี้ต่อมไทรอยด์ของเรากำลังทำงานผิดปกติ ซึ่งหากตรวจพบแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากชะล่าใจปล่อยอาการทิ้งไว้ไม่รีบรักษา ก็อาจเสี่ยงถึงขั้นหัวใจล้มเหลว หรือบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

นายแพทย์ณัฐนนท์ มณีเสถียร อายุรแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า “ไทรอยด์” เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาจากต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมที่มีลักษณะคล้ายผีเสื้ออยู่บริเวณด้านหน้าหลอดลม ใต้ลูกกระเดือก มีขนาดประมาณ 15-30 กรัม เคลื่อนที่ขึ้นลงตามการกลืน โดยฮอร์โมนไทรอยด์นั้นจะทำหน้าที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย ทั้งสภาพอารมณ์ จิตใจ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ รวมทั้งการเจริญเติบโต สติปัญญา และพัฒนาการในเด็ก หากไทรอยด์ฮอร์โมนมีการทำงานมากเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญพลังงานเร็วมากผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้คนไข้มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว หิวง่ายทานจุแต่น้ำหนักลดเร็ว โดยเราจะเรียกภาวะการทำงานผิดปกติชนิดนี้ว่า “โรคไทรอยด์เป็นพิษ”

สำหรับสาเหตุหลักของโรคนี้ก็เกิดจากร่างกายของคนเราสร้างภูมิคุ้มกันไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานมากขึ้น หรือที่เรียกว่า โรค Grave’s Disease ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็อาจเกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ หรือการได้รับฮอร์โมนไทรอยด์จากแหล่งอื่น เช่น รับประทานยา หรืออาหารที่มีฮอร์โมนไทรอยด์เป็นองค์ประกอบ หรือจากเนื้องอกไทรอยด์ชนิดเป็นพิษ (Toxic nodular goiter) เป็นต้น ในปัจจุบันพบว่าคนไทยร้อยละ 1-3 คน ป่วยเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยพบในเพศหญิงมากกว่าชาย

สำหรับวิธีการรักษาโดยทั่วไปทำได้ 3 วิธี คือ การรับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยมักต้องทานยาต่อเนื่องประมาณ 24-36 เดือน วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยอายุน้อย เป็นโรคมาไม่นาน ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตไม่มาก หรือผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น มีโรคประจำตัวหลายโรค การรับประทานน้ำแร่รังสีไอโอดีน เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เป็นโรคมานาน ผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำหลังรับประทานยาครบตามกำหนด ผู้ป่วยที่แพ้ยาต้านไทรอยด์แบบรุนแรง การผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตมาก มีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียงจากต่อมไทรอยด์ เช่น กลืนลำบาก หายใจลำบาก หรือผู้ป่วยที่สงสัยอาจมีมะเร็งต่อมไทรอยด์ร่วมด้วย รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการทางตาจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษขั้นรุนแรง (Severe Grave’s Ophthalmopathy)

สำหรับภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบ จะมีอาการไทรอยด์เป็นพิษเพียงชั่วคราว จึงไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านฮอร์โมน การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การรับประทานยาลดอาการใจสั่น กรณีที่มีใจสั่น มือสั่น หรือยาลดอาการปวดถ้ามีอาการปวดบริเวณต่อมไทรอยด์เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีภาวะการทำงานผิดปกติอีกชนิดหนึ่งของต่อมไทรอยด์ ที่พบว่ามีอาการตรงกันข้ามกับโรคไทรอยด์เป็นพิษก็คือ “ไทรอยด์ทำงานต่ำเกินไป” ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาได้น้อยกว่าปกติ ทำให้มีการเผาผลาญในร่างกายน้อยลงผิดปกติ ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่าย อ่อนเพลีย เชื่องช้า รู้สึกง่วงนอน เฉื่อยชาไม่กระฉับกระเฉง ขี้ลืม ประจำเดือนมามากผิดปกติ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เสียงแหบ ผิวแห้ง ใบหน้าเปลือกตาหรือมือเท้าบวม ซึมเศร้า ชีพจรเต้นช้า ถ้าเป็นมากอาจพบภาวะหัวใจวาย น้ำท่วมปอด และช่องเยื่อหุ้มหัวใจส่วนในเด็กเล็กจะมีพัฒนาการช้า ตัวเตี้ย และสติปัญญาต่ำได้ สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากร่างกายสร้างสารขึ้นมายับยั้งการทำงานของไทรอยด์ทำให้ไทรอยด์ทำงานน้อยลง สาเหตุอื่นที่พบได้แก่ การขาดสารไอโอดีน การอักเสบเรื้อรังของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การได้รับยาต้านไทรอยด์มากเกินไป การกลืนน้ำแร่รังสีไอโอดีน และโรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า

คุณหมอแนะนำว่า สำหรับผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกตินั้นควรงดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำให้อาการทางตารุนแรงมากขึ้น เช่น ตาโปนขึ้น ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มบำรุงกำลังหรือกาเฟอีน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น ควรงดออกกำลังกายหนักในช่วงแรกของการรักษา โรคไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับขนาดยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยาและทำให้รักษาหายยากขึ้น ในกรณีที่รักษาหายขาดแล้วควรมีการติดตามระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากอาจมีโอกาสกลับเป็นซ้ำ หรือเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำได้ ผู้ป่วยที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากการได้รับยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์บางชนิด (Methimazole) ในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก หรือการรักษาบางวิธี เช่น รับประทานน้ำแร่รังสีไอโอดีน อาจก่อให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้ ยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์อาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ ผื่นคัน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดข้อ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน หรือเม็ดเลือดขาวต่ำได้ ดังนั้นถ้ามีอาการดังกล่าวหรือมีไข้เจ็บคอควรปรึกษาแพทย์ทันที

อย่างไรก็ตาม เราควรใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หมั่นสังเกตร่างกายตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และถ้าพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติไปจากเดิม เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น กินจุแต่น้ำหนักลด ก็อย่าได้นิ่งนอนใจ ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจแต่เนิ่นๆ เพราะอาจเป็นสัญญาณที่เตือนเราได้ว่าตอนนี้ต่อมไทรอยด์ของเรากำลังทำงานไม่ปกติ คุณหมอณัฐนนท์ฝากทิ้งท้าย

เครดิต: รักษาไทรอยด์ด้วยธรรมชาติบำบัด จาก WWW.CUREBYNATURE.ORG
 
บทความ “ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ภัยเงียบถึงขั้นหัวใจล้มเหลว” จาก ไทยโพสต์

 
Photo: ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาได้ด้วยธรรมชาติบำบัด
ในทางแพทย์แผนโบราณตำราจีนและไทย กล่าวว่าไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากการกินที่ไม่สมดุล กินอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมากกว่าฤทธิ์เย็น หรือหยินหยางไม่สมดุล จึงทำให้ภายในร่างกายร้อนเกิน จนกระทั่งการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปรกติ 

วิธีธรรมชาติบำบัดที่จะช่วยรักษาไทรอยด์ที่ผสมทั้งแผนจีนแผนไทยคือ “การแกว่งแขน” หรือการออกกำลังกายโดยการแกว่งแขนเป็นประจำวันละ 20 นาทีเป็นอย่างต่ำ 

*ชีวอโรคยา จะนำรายละเอียดเรื่องการแกว่งแขนรักษาโรคมาเสนอในโอกาสต่อไป 

และกินสมุนไพรที่จะช่วยรักษาได้คือ “น้ำใบย่านาง” ให้คั้นใบย่านางต้มกินแทนน้ำเปล่า ปัจจุบันมีหัวน้ำใบย่านางสกัดขายตามร้านขายของเพื่อสุขภาพทั่วไป นำไปผสมน้ำดื่มได้เลย รสชาติไม่แตกต่างจากน้ำเปล่าและยังมีกลิ่นหอมชื่นใจอีกด้วย

นอกจากนั้นให้ปรับนิสัยการกิน หันมากินอาหารฤทธิ์เย็นแทน เช่นงดเนื้อสัตว์ แต่ยังกินปลาได้เช่นปลานึ่งทาเกลือเพื่อเสริมไอโอดีน กินผักผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม สัปปะรด แอปเปิลฯลฯ กินข้าวกับผักลวกปลานึ่ง โดยให้เน้นผักฤทธิ์เย็น (เสิร์จกูเกิลหาชื่อของผัก-ผลไม้ฤทธิ์เย็นได้เลย)

ผู้มีประสบการณ์ป่วยเป็นไทรอยด์ เล่าว่า ทำตามคำแนะนำนี้ ค่าไทรอยด์ลดลง 50% ภายใน 2 สัปดาห์ และหายเป็นปรกติภายใน 3-4 เดือน แต่ต้องกินน้ำย่านางไปตลอดเพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย
*****************************************

บทความเรื่อง “ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ภัยเงียบถึงขั้นหัวใจล้มเหลว”

อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หิวบ่อย ทานจุ น้ำหนักลดฮวบแม้ทานอาหารมากขึ้น ขี้ร้อน หงุดหงิดง่าย ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง คอมีขนาดโตขึ้น ตาโปน หากใครกำลังมีอาการดังกล่าวมาพึงระวัง เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกให้รู้ว่า ตอนนี้ต่อมไทรอยด์ของเรากำลังทำงานผิดปกติ ซึ่งหากตรวจพบแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากชะล่าใจปล่อยอาการทิ้งไว้ไม่รีบรักษา ก็อาจเสี่ยงถึงขั้นหัวใจล้มเหลว หรือบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

นายแพทย์ณัฐนนท์ มณีเสถียร อายุรแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า “ไทรอยด์” เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาจากต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมที่มีลักษณะคล้ายผีเสื้ออยู่บริเวณด้านหน้าหลอดลม ใต้ลูกกระเดือก มีขนาดประมาณ 15-30 กรัม เคลื่อนที่ขึ้นลงตามการกลืน โดยฮอร์โมนไทรอยด์นั้นจะทำหน้าที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย ทั้งสภาพอารมณ์ จิตใจ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ รวมทั้งการเจริญเติบโต สติปัญญา และพัฒนาการในเด็ก หากไทรอยด์ฮอร์โมนมีการทำงานมากเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญพลังงานเร็วมากผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้คนไข้มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว หิวง่ายทานจุแต่น้ำหนักลดเร็ว โดยเราจะเรียกภาวะการทำงานผิดปกติชนิดนี้ว่า “โรคไทรอยด์เป็นพิษ” 

สำหรับสาเหตุหลักของโรคนี้ก็เกิดจากร่างกายของคนเราสร้างภูมิคุ้มกันไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานมากขึ้น หรือที่เรียกว่า โรค Grave’s Disease ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็อาจเกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ หรือการได้รับฮอร์โมนไทรอยด์จากแหล่งอื่น เช่น รับประทานยา หรืออาหารที่มีฮอร์โมนไทรอยด์เป็นองค์ประกอบ หรือจากเนื้องอกไทรอยด์ชนิดเป็นพิษ (Toxic nodular goiter) เป็นต้น ในปัจจุบันพบว่าคนไทยร้อยละ 1-3 คน ป่วยเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยพบในเพศหญิงมากกว่าชาย

สำหรับวิธีการรักษาโดยทั่วไปทำได้ 3 วิธี คือ การรับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยมักต้องทานยาต่อเนื่องประมาณ 24-36 เดือน วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยอายุน้อย เป็นโรคมาไม่นาน ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตไม่มาก หรือผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น มีโรคประจำตัวหลายโรค การรับประทานน้ำแร่รังสีไอโอดีน เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เป็นโรคมานาน ผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำหลังรับประทานยาครบตามกำหนด ผู้ป่วยที่แพ้ยาต้านไทรอยด์แบบรุนแรง การผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตมาก มีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียงจากต่อมไทรอยด์ เช่น กลืนลำบาก หายใจลำบาก หรือผู้ป่วยที่สงสัยอาจมีมะเร็งต่อมไทรอยด์ร่วมด้วย รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการทางตาจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษขั้นรุนแรง (Severe Grave’s Ophthalmopathy) 

สำหรับภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบ จะมีอาการไทรอยด์เป็นพิษเพียงชั่วคราว จึงไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านฮอร์โมน การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การรับประทานยาลดอาการใจสั่น กรณีที่มีใจสั่น มือสั่น หรือยาลดอาการปวดถ้ามีอาการปวดบริเวณต่อมไทรอยด์เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีภาวะการทำงานผิดปกติอีกชนิดหนึ่งของต่อมไทรอยด์ ที่พบว่ามีอาการตรงกันข้ามกับโรคไทรอยด์เป็นพิษก็คือ “ไทรอยด์ทำงานต่ำเกินไป” ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาได้น้อยกว่าปกติ ทำให้มีการเผาผลาญในร่างกายน้อยลงผิดปกติ ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่าย อ่อนเพลีย เชื่องช้า รู้สึกง่วงนอน เฉื่อยชาไม่กระฉับกระเฉง ขี้ลืม ประจำเดือนมามากผิดปกติ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เสียงแหบ ผิวแห้ง ใบหน้าเปลือกตาหรือมือเท้าบวม ซึมเศร้า ชีพจรเต้นช้า ถ้าเป็นมากอาจพบภาวะหัวใจวาย น้ำท่วมปอด และช่องเยื่อหุ้มหัวใจส่วนในเด็กเล็กจะมีพัฒนาการช้า ตัวเตี้ย และสติปัญญาต่ำได้ สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากร่างกายสร้างสารขึ้นมายับยั้งการทำงานของไทรอยด์ทำให้ไทรอยด์ทำงานน้อยลง สาเหตุอื่นที่พบได้แก่ การขาดสารไอโอดีน การอักเสบเรื้อรังของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การได้รับยาต้านไทรอยด์มากเกินไป การกลืนน้ำแร่รังสีไอโอดีน และโรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า

คุณหมอแนะนำว่า สำหรับผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกตินั้นควรงดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำให้อาการทางตารุนแรงมากขึ้น เช่น ตาโปนขึ้น ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มบำรุงกำลังหรือกาเฟอีน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น ควรงดออกกำลังกายหนักในช่วงแรกของการรักษา โรคไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับขนาดยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยาและทำให้รักษาหายยากขึ้น ในกรณีที่รักษาหายขาดแล้วควรมีการติดตามระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากอาจมีโอกาสกลับเป็นซ้ำ หรือเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำได้ ผู้ป่วยที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากการได้รับยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์บางชนิด (Methimazole) ในหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก หรือการรักษาบางวิธี เช่น รับประทานน้ำแร่รังสีไอโอดีน อาจก่อให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้ ยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์อาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ ผื่นคัน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดข้อ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน หรือเม็ดเลือดขาวต่ำได้ ดังนั้นถ้ามีอาการดังกล่าวหรือมีไข้เจ็บคอควรปรึกษาแพทย์ทันที

อย่างไรก็ตาม เราควรใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หมั่นสังเกตร่างกายตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และถ้าพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติไปจากเดิม เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น กินจุแต่น้ำหนักลด ก็อย่าได้นิ่งนอนใจ ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจแต่เนิ่นๆ เพราะอาจเป็นสัญญาณที่เตือนเราได้ว่าตอนนี้ต่อมไทรอยด์ของเรากำลังทำงานไม่ปกติ คุณหมอณัฐนนท์ฝากทิ้งท้าย

เครดิต: รักษาไทรอยด์ด้วยธรรมชาติบำบัด จาก WWW.CUREBYNATURE.ORG 
บทความ “ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ภัยเงียบถึงขั้นหัวใจล้มเหลว” จาก ไทยโพสต์
ภาพ: อินเตอร์เน็ต  
*****************************************

แบ่งปันความรู้ทั่วไป เพื่อความพอเพียง และสุขภาพที่ดี โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ชีวอโรคยา อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่พึ่งสารเคมี ไม่ต้องรอให้ป่วยไปเสียค่ารักษาพยาบาลแพงๆ 

ติดตามข้อมูลข่าวสารการดูแลตัวเองวิถีธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมีได้ที่ Facebook ชีวอโรคยา
www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772